การเขียนโปรแกรมแบบมีทางเลือกมากกว่า 2 ทางเลือก

          การเขียนโปรแกรมเพื่อนำไปใช้งานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านธุรกิจ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอื่นๆ จะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งแต่ละคนมีความเชี่ยวชาญและความชำนาญในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน การที่จะเป็นโปรแกรมเมอร์มืออาชีพได้จะต้องอาศัยใจรักที่อยากจะพัฒนาและฝึกฝนในการเขียนโปรแกรม หากต้องการเป็นโปรแกรมเมอร์จึงควรเริ่มจากการศึกษาหลักการพื้นฐานของวิธีการเขียนโปรแกรมให้เข้าใจ เพราะการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ มีหลักการคล้ายกัน สิ่งที่แตกต่างกันของแต่ละภาษาก็คือ รูปแบบคำสั่งที่ใช้ในการรับข้อมูล การประมวลผล และการแสดงผล ถ้าสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาหนึ่งได้แล้ว การเขียนโปรแกรมในภาษาอื่นจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่จะต้องศึกษารูปแบบการเขียนของภาษานั้นเพิ่มเติม การหัดเขียนโปรแกรมเพื่อนำไปใช้งานในด้านต่างๆ เช่น การจัดการฐานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการสร้างชิ้นงานจะช่วยให้มีความรู้และทักษะในการเขียนโปรแกรมมากขึ้น

 

โปรแกรมแบบมีทางเลือกมากกว่า 2 ทางเลือก

ปัญหา    มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีการตัดเกรดผลการเรียนของนักศึกษา ตามคะแนนรวมของคะแนนสอบกลางภาคและคะแนนสอบปลายภาค ดังนี้

          เกรด G  คะแนนรวม 80-100  คะแนน
          เกรด P  คะแนนรวม 50-79    คะแนน
          เกรด F  คะแนนรวม   0-49    คะแนน
          จงเขียนโปรแกรมให้นักศึกษาคำนวณเกรดที่ตนเองได้รับ

  1. สิ่งต้องการ (Requirement)
    คำนวณคะแนนรวม คำนวณเกรด แล้วออกรายงานแสดงผลการคำนวณ
  1. รูปแบบของผลลัพธ์ (Output) ให้มีการแสดงผลออกทางจอภาพ ดังนี้

ผลการเรียนวิชา…………………………….

    คะแนนรวม  = ……………. คะแนน

    เกรด          = …………….

  1. ข้อมูลนำเข้า (Input)

             คะแนนสอบกลางภาค
             คะแนนสอบปลายภาค

  1. ตัวแปรที่ใช้ (Variable)

          Midterm     แทน คะแนนสอบกลางภาค
          Final            แทน คะแนนสอบปลายภาค
          SumScore  แทน คะแนนรวม
          Grade          แทน ผลการเรียน

  1. วิธีการประมวลผล (Process)

             5.1 เริ่มต้น
             5.2 รับค่าคะแนนสอบกลางภาคMidterm ผ่านทางคีย์บอร์ด
             5.3 รับค่าคะแนนสอบปลายภาคFinal ผ่านทางคีย์บอร์ด
             5.4 คำนวณหาคะแนนรวม จากสูตร SumScore= Midterm+Final
             5.5 ตัดเกรดตามเงื่อนไขคะแนนที่มีทางเลือกหลายทาง
             5.5.1 ถ้าSumScore>= 80 ให้Grade = “G”
             5.5.2 ถ้าSumScore>= 50 ให้Grade = “P”
             5.5.3 ถ้าSumScore< 50 ให้Grade = “F”
             5.6 แสดงค่าคะแนนรวม SumScore, ผลการเรียน Gradeออกทางจอภาพ
             5.7 จบการทำงาน

  1. ผังงาน (Flowchart)
  1. เขียนโปรแกรม (Program)

CLS
DIM
DIM
INPUT
INPUT
SumScore =
SELECT  
CASE




END SELECT
PRINT
PRINT
PRINT


Midterm, Final, SumScore AS INTERGER
GradeAS STRING
“คะแนนกลางภาค=”; Midterm
“คะแนนปลายภาค=”;   Final
Midterm + Final
SumScore
CASE IS >= 80
     Grade = “G”
CASE IS >= 50
     Grade = “P”
     Grade = “F”

“ผลการเรียนวิชา………………………….”
“คะแนนรวม=  “;SumScore;”คะแนน”
“เกรด=  “; Grade

Coding

#include<stdio.h>
#include<conio.h>
int  main()
{      
        intSumScore,Midterm,Final;             //ประกาศตัวแปร
        printf(“Enter Midterm : “);                  //แสดงข้อความEnter Midterm :
        scanf(“%d”,&Midterm);                      //รับค่าคะแนน Midterm จากแป้นพิมพ์
        printf(“Enter Final : “);                        //แสดงข้อความEnter Final :
        scanf(“%d”,&Final);                            //รับค่าคะแนน Final จากแป้นพิมพ์
                SumScore= Midterm+ Final;    //คำนวณหาค่า SumScore
        printf(“\nSumScore = %d\n\n”,SumScore);      //แสดงค่า SumScore
if(SumScore>=80)                                     //ถ้า SumScore มากกว่าหรือเท่ากับ 80
        {printf(“Grade=G”); }                          //แสดงข้อความ Grade=G
else if(SumScore>=50)                            //ถ้า SumScore มากกว่าหรือเท่ากับ 50
        {printf(“Grade=P”); }                          //แสดงข้อความ Grade=P
else {printf(“Grade=F”); }                         //ถ้าไม่ใช่ แสดงข้อความ Grade=F
getch();
}

เอกสารอ้างอิง

น้อย สุวรรณมณี และคณะ.(2553). หนังสือเรียนแม็ค การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เล่มที่ 3. (หน้า 89-90).กรุงเทพฯ : แม็ค.

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)(2558). คู่มือครูหนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เล่มที่ 3 (หน้า 88-89).กรุงเทพฯ :

คุณภาพวิชาการ (พว.).ฝ่ายตำราวิชาการคอมพิวเตอร์. (2553). การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ภาษาซี)(หน้า 147-151).

กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.อาณัติ  รัตนถิรกุล. (2553).สร้างระบบ e-Learning ด้วย moodle.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.