การนำเสนอโครงงาน

          การแสดงผลงานจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงานเรียกได้ว่าเป็นงานขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการแสดงผลิตผลของ ความคิด และการปฏิบัติการทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเวลาไป และเป็นวิธีการที่จะทำให้ ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น มีผู้กล่าวกันว่าการวางแผน ออกแบบเพื่อจัดแสดง ผลงานนั้นมีความสำคัญเท่าๆกับการทำโครงงานนั้นเอง ผลงานที่ทำจะดียอดเยี่ยมเพียงใด แต่ถ้าการจัดแสดงผลงานทำได้ไม่ดี ก็เท่ากับไม่ได้ แสดงถึงความยอดเยี่ยมของผลงานนั้นด้วย

การจัดแสดงและการนำเสนอผลงาน

          การแสดงผลงานนั้นอาจทำได้หลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงในรูปนิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไมีมีการอธิบายประกอบ หรือในรูปของการรายงานปากเปล่า ไม่ว่าการแสดงผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด ควรจะจัดให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

  1. ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษา
  2. คำอธิบายถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงานและความสำคัญของโครงงาน
  3. วิธีการดำเนินการโดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เด่นและสำคัญ
  4. การสาธิตหรือแสดงผลที่ได้จากการทดลอง
  5. ผลการสังเกตและข้อมูลเด่นๆ ที่ได้จากการทำโครงงาน

        การจัดแสดงและการนำเสนอผลงาน

                  การแสดงผลงานนั้นอาจทำได้หลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงในรูปนิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไมีมีการอธิบายประกอบ หรือในรูปของการรายงานปากเปล่า ไม่ว่าการแสดงผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด ควรจะจัดให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

  1. ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษา
  2. คำอธิบายถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงาน และความสำคัญของโครงงาน
  3. วิธีการดำเนินการโดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เด่นและสำคัญ
  4. การสาธิตหรือแสดงผลที่ได้จากการทดลอง
  5. ผลการสังเกตและข้อมูลเด่นๆ ที่ได้จากการทำโครงงาน

              ในการจัดนิทรรศการโครงงานนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

  1. ความปลอดภัยของการจัดแสดง
  2. ความเหมาะสมกับเนื้อที่จัดแสดง
  3. คำอธิบายที่เขียนแสดงควรเน้นประเด็นสำคัญ และสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้น โดยใช้ข้อความกะทัดรัด ชัดเจน และเข้าในง่าย
  4. ดึงดูดความสนใจผู้เข้าชม โดยใช้รูปแบบการแสดงที่น่าสนใจ ใช้สีที่สดใส เน้นจุดที่สำคัญหรือใช้วัสดุต่างประเภทในการจัดแสดง
  5. ใช้ตาราง และรูปภาพประกอบ โดยจัดวางอย่างเหมาะสม
  6. สิ่งที่แสดงทุกอย่างต้องถูกต้อง ไม่มีการสะกดผิดหรืออธิบายหลักการที่ผิด
  7. ในกรณีที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ สิ่งนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

การประเมินผลโครงงาน

        เกณฑ์ในการให้คะแนนก็แล้วแต่อาจารย์ผู้สอนจะเห็นสมควร แต่ควรให้ความสำคัญกับการจัดทำเค้าโครงงาน ผลงาน และรายงานในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน เพราะทุกส่วนล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงงานที่ดีและมีคุณภาพตัวอย่างการพิจารณาแบ่งคะแนนจากคะแนนเต็ม100 คะแนน ได้แก่ 

ลำดับที่

กิจกรรม

คะแนน (%)

หมายเหตุ

1

การคัดเลือกหัวข้อ

15

ในแต่ละกิจกรรมนั้น อาจารย์ควรจะพิจารณาให้คะแนนเป็นระยะๆ โดยสังเกตดูผลงานและความร่วมมือในการพัฒนาโครงงานของผู้เรียนแต่ละคนด้วย

2

การจัดทำเค้าโครงของโครงงาน

25

3

ค้นคว้าและปฏิบัติ

30

4

รายงานและการนำเสนอผลงาน

30

การประเมินโครงงานควรเป็นการประเมินตามสภาพจริง เพื่อค้นหาความสามารถและความก้าวหน้าในการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน ซึ่งกรอบแนวทาง การประเมินได้แก่

  1. ประเมินอะไร
    – ผลผลิต / ผลงาน / ชิ้นงาน
    –  กระบวนการเรียนรู้
    –  กระบวนการทำงาน
    –  การแสดงออกถึงความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
    –  การคัดเลือกหัวข้อจนถึงการนำเสนอผลงาน
    –  ตามสภาพจริง 
  1. ประเมินจากอะไร
    – ผลงาน
    –  การทดสอบ
    –  บันทึกต่างๆ
    –  แฟ้มสะสมผลงาน
    –  การตรงต่อเวลาของการส่งงาน
    –  หลักฐานหรือร่องรอยอื่น 
  1. ประเมินโดยใคร
    –  ผู้สอน
    –  ผู้เรียน
    –  เพื่อนร่วมชั้นเรียน
    –  ผู้ปกครอง
    –  ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ 
  1. ประเมินโดยวิธีใด
    –  ตรวจผลงาน
    –  ตรวจรายงาน
    –  ทดสอบ
    –  นำเสนอผลงาน
    –  นิทรรศการ
    –  สังเกต
    –  สัมภาษณ์

          การปฏิบัติงานเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งต้องจัดให้มีการประเมินการปฏิบัติงานของผู้เรียนตลอดเวลา ขณะที่ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนต่างๆ และนำผลเหล่านั้นมาพัฒนา ปรับปรุง การปฏิบัติงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยควรให้ผู้เรียนได้มีทำการจดบันทึกตลอดจนใช้แฟ้มสะสมผลงานตลอดเวลาด้วย 

          สิ่งที่ควรพิจารณาในการประเมินโครงงานคอมพิวเตอร์ ได้แก่

  1. บรรลุตามวัตถุประสงค์ พิจารณาว่าผลงานที่ได้สอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์หรือไม่ มากน้อยอย่างไร
  2. คู่มือการติดตั้ง และคู่มือการใช้งาน พิจารณาความครบถ้วน ถูกต้องและการใช้งานที่ง่าย
  3. ความสมบูรณ์ของผลงาน หมายถึงการทำงานที่ถูกต้อง ความสวยงามและความเรียบร้อย
  4. การนำไปใช้ประโยชน์ ผลงานนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในลักษณะใดได้บ้าง มีผลกระทบต่อใคร และอย่างไร
  5. เทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหา มีความยากง่ายระดับใด มีการนำมาประยุกต์ใช้ได้ถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
  6. ความคิดสร้างสรรค์/ความแปลกใหม่ อาจพิจารณาเป็นคะแนนพิเศษ เพราะโครงงานบางชิ้นไม่ได้เป็นงานใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพเท่านั้น ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโครงงานได้เช่นกัน

        เพื่อการติดตามและประเมินผลงานของผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด ผู้สอนอาจแนะนำให้ผู้เรียนจัดทำตารางเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนเองด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนทราบผลการปฏิบัติงานว่าสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานที่ตั้งไว้ในเค้าโครงร่างหรือไม่ และควรจะปรับปรุงตนเองอย่างไรเพื่อให้ได้ผลงานตรงตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้

เอกสารอ้างอิง

น้อย สุวรรณมณี และคณะ.(2553). หนังสือเรียนแม็ค การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เล่มที่ 3. (หน้า 133-135).กรุงเทพฯ : แม็ค.

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)(2558). คู่มือครูหนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เล่มที่ 3 (หน้า 196-199).กรุงเทพฯ :

คุณภาพวิชาการ (พว.).อาณัติ  รัตนถิรกุล. (2553).สร้างระบบ e-Learning ด้วย moodle.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ไม่ระบุชื่อผู้เขียน. การนำเสนอโครงงาน. https://sites.google.com/site/adbandon/ng-23102-thekhnoloyi-sarsnthes-5/8-karna-senx-khorng-ngan. [ระบบออนไลน์].(20ธันวาคม2557).